พันธกิจ วิสัยทัศน์ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
วิสัยทัศน์ ( VISION )
องค์กรที่เป็นเลิศด้านการคุ้มครองผู้บริโภค เพื่อให้ผลิตภัณฑ์สุขภาพมีคุณภาพ
ปลอดภัย ผู้บริโภคมั่นใจ ผู้ประกอบการไทยก้าวไกลสู่สากล
พันธกิจ
(๑) กำกับ ดูแล และส่งเสริมให้มีการนำเสนอผลิตภัณฑ์สุขภาพที่มีคุณภาพ มาตรฐานและความปลอดภัย
(๒) ส่งเสริมให้ผู้บริโภคมีความรู้ ความเข้าใจ และมีพฤติกรรมการบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ถูกต้อง
(๓) สนับสนุนให้ผู้ประกอบการได้รับโอกาสทางการแข่งขันมากขึ้น เพื่อเป็นการส่งเสริมการเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจของประเทศ
(๔) พัฒนาการบริหารจัดการองค์กรสู่ความเป็นเลิศ
ค่านิยม :
“PROTECT”
P ห่วงใยประชา (People Centric)
R สร้างศรัทธาความเชื่อมั่น (Reliability)
O มุ่งมั่นเรียนรู้ (Ongoing Learning)
T เชิดชูทีมงาน (Team work)
E ยึดหลักการคุณธรรม จริยา (Ethic)
C พร้อมพัฒนาขีดสมรรถนะ (Competency)
T ไม่ลดละความโปร่งใส (Transparency)
ระยะยาว :
๑. ผู้บริโภคได้บริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพที่มีคุณภาพ ปลอดภัย และสมประโยชน์มุ่งสู่สังคมสุขภาพดี
๒. ผู้บริโภคเชื่อมั่นสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาในการคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ
๓. ผู้บริโภคมีพฤติกรรมการบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ถูกต้อง
๔. ผู้ประกอบการด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพมีศักยภาพในการแข่งขันในระดับสากล
๕. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง
ระดับผลผลิต :
๑. ผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ได้รับการตรวจสอบมีคุณภาพ มาตรฐานตามเกณฑ์ที่กำหนด
๒. สถานประกอบการที่ได้รับการตรวจสอบมีคุณภาพ มาตรฐานตามเกณฑ์ที่กำหนด
๓. ผู้บริโภคมีความรู้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ถูกต้อง
๔. ผู้ประกอบการมีความพร้อมด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์สุขภาพ สามารถปรับตัวได้ตามมาตรฐานสากล
๕. บุคลากรมีสมรรถนะและการปฏิบัติงานสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ขององค์กร
๖. องค์กรมีองค์ความรู้และการบริหารจัดการที่ดี เพื่อสนับสนุนการคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ระดับผลลัพธ์ :
๑. ผู้บริโภคได้บริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพที่มีคุณภาพ มาตรฐาน และความปลอดภัย
๒. ผู้บริโภคมีพฤติกรรมการบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ถูกต้อง
๓. สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาเป็นองค์กรที่มีสมรรถนะสูง (High Performance Organization: HPO)
๔. ผู้ประกอบการด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพมีศักยภาพ มีความพร้อมในการแข่งขันในตลาดสากล
๖. ยุทธศาสตร์สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
๑. พัฒนาระบบการควบคุม กำกับดูแลผลิตภัณฑ์สุขภาพให้มีประสิทธิภาพ ทัดเทียมระดับสากล
๒. พัฒนาผู้บริโภคให้มีศักยภาพ เพื่อการพึ่งพาตนเองได้ ในการบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพ
๓. ควบคุมตัวยาและสารตั้งต้นที่เป็นวัตถุเสพติด
๔. พัฒนาองค์กรสู่ความเป็นเลิศ (High Performance Organization: HPO)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น